ผ้าทอพื้นบ้านปากะญอ
จัดเป็นงานฝีมือประเภทผ้าที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น ชาวเขาเผ่าปากะญอ
นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวปากะญอ จะปลูกฝ้ายเองและนำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้ายย้อมด้วยสีธรรมชาติสร้างลวดลายด้วยการทอ
การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวปากะญอ
จะถ่ายทอดภูมิปัญญาการขึ้นลวดลายของผ้าและการทอผ้า ให้แก่บุตรสาว ๑๒ - ๑๕ ปี
เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้
ที่นิยมทำกันมานานแล้วในชุมชนชาวเขาเผ่าปากะญอ
แทบทุกบ้านถือเป็นศิลปะพื้นบ้านชนิดหนึ่ง
โดยจะทอด้วยเครื่องทอผ้าแบบกี่เอวจะมีลักษณะ พิเศษสามารถเคลื่อนย้ายไปทอในที่ต่าง
ๆ ได้อย่างง่ายดาย จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน ทำให้ทราบ
ว่ามีมานานตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายและได้ถ่ายทอดสืบต่อมา
กี่ทอผ้าในยุคก่อนทำจากไม้สัก เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง
ส่วนลวดลายผ้าที่ทอนั้นก็มีเพียงไม่กี่ลาย เช่น ลายเมล็ดฟักทอง ลายดอกพริก ลายแมง
มุม และลายหัวเต่า
ซึ่งล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าปากะญอ
ทั้งสิ้นนอกจากนี้ยังนิยมใช้ลูกเดือย ปักตกแต่งบนผืนผ้าอย่างสวยงาม
สำหรับวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ในการทอผ้า คือ ฝ้าย ทั้งนี้เพราะดูดความชื้นได้
ง่ายผู้สวมใส่จะรู้สึกเย็นสบายเหมาะกับอากาศเมืองร้อน อีกทั้งยังปลูกได้ทั่วไป
นับเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอ พื้นเมืองชาวเขาเผ่า ปากาญอ อย่างแท้จริง อ่านเพิ่มเติม
ผ้าทอพื้นบ้าน ชาวเขาเผ่าปากะญอ
Posted by สำนักงาน กศน.จังหวัดตาก on August 25, 2022 in 03.ภูมิปัญญาชาวบ้าน จังหวัดตาก อำเภออุ้มผาง | Comments : 0
Subscribe to:
Post Comments
(
Atom
)
Post a Comment